การทำงานในอเมริกา Part time Job
 
 

การทำงานในอเมริกา (Part time Job)

แบบถูกกฎหมายรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

CPT - Curricular Practical Training

OPT - Optional Practical Training

 

การทำงานในขณะทื่ถือวีซ่า F-1 
นักศึกษาต่างชาติจะถูกกำหนดด้วยกฎหมายของกองตรวจคนเข้าเมืองว่า ไม่มีสิทธิในการทำงานนอกมหาวิทยาลัย เนื่องจาก นักศึกษาต่างชาติที่เดินทางเข้ามาศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา มีความประสงค์ที่จะเข้ามาศึกษาต่อ และควรมีทุนทรัพย์ ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการศึกษาอยู่แล้ว ดังนั้น งานที่นักศึกษาต่างชาติสามารถทำได้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การทำงานภายในวิทยาเขต 
ตามกฎหมายแล้ว นักศึกษาที่ถือวีซ่า F-1 สามารถทำงานไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงเปิดภาคการศึกษา และต้องเป็น งานใน campus ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปตามบอร์ดต่างๆ เช่น งานในโรงอาหาร หรือห้องสมุด บรรณารักษ์ หรือเก็บตั๋ว parking lot การเป็น TA (Teacher Assistant) หรือ RA (Research Assistant) เป็นต้น อย่างไรก็ดี นักศึกษาจะสามารถทำงาน ภายใน มหาวิทยาลัยได้ ก็ต่อเมื่อการทำงานนั้นๆ ไม่มีผลกระทบต่อการศึกษา และไม่ได้เป็นการแย่งงานของคนอเมริกัน สถาบัน การศึกษาหลายแห่งกำหนดให้นักศึกษาแสดงเอกสารได้รับอนุญาตให้ทำงาน จากเจ้าหน้าที่แนะแนวนักศึกษา ต่างชาติก่อน การว่าจ้างการทำงานในมหาวิทยาลัย

การทำงานนอกวิทยาเขต 
สำหรับการทำงานนอกวิทยาเขต (Off-Campus) นั้น ต้องได้รับการอนุมัติจาก International Student Office ของทาง มหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ การทำงานนอกวิทยาเขตนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. Curricular Practical Training (CPT) 
เป็นการทำงานในบริษัทหรือหน่วยงาน ในขณะที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ในช่วงระหว่างภาคการศึกษา หรือปิดภาคการศึกษา นัก เรียนสามารถขอทำงานนอกวิทยาเขตในรูปแบบของ CPT ได้ แต่ทั้งนี้ งานที่ทำจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน ในบาง กรณี นักศึกษาสามารถนับหน่วยกิตเข้าในหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ได้ หากเป็นการทำงานในช่วงปิดภาคการศึกษา มักเรียกว่า Internship ถ้าทำในช่วงระหว่างภาคการศึกษา มักเรียกว่า Cooperative education program (Co-Op) 

ข้อควรรู้สำหรับการทำ CPT

·         ไม่จำเป็นต้องแจ้ง หรือได้รับอนุญาตจาก INS แต่ต้องทำเรื่องขออนุมัติจาก International Student Office แทน 

·         จะต้องรักษาสถานภาพของการเป็นนักศึกษาวีซ่า F-1 มาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา หรือ 9 เดือน

·         จะต้องได้รับจดหมายตอบรับการเข้าทำงาน หรือ Offer Letter จากบริษัท หรือหน่วยงานราชการ เป็นลายลักษณ์อักษร 

·         ควรดำเนินเรื่องขออนุมัติ CPT ก่อนการเริ่มทำงานจริงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 

·         นักศึกษาสามารถใช้ CPT ได้นานเท่าที่ต้องการ ตราบใดที่ยังมีสถานภาพที่ถูกกฎหมายของวีซ่า F-1 อยู่ โดยมีข้อแม้ว่า

o   ถ้านักศึกษาใช้ CPT เกิน 12 เดือน จะไม่มีสิทธิ์ขอ OPT หลังจากศึกษาสำเร็จแล้ว 

o   ถ้านักศึกษาใช้ CPT ไม่เกิน 12 เดือน ก็จะยังมีสิทธิ์ในการขอ OPT ได้เหมือนเดิม (12 เดือน) 

o   ขั้นตอนการขออนุมัติจะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ขั้นตอนทั่วไปที่เหมือนกันคือ นักศึกษาต้องไปติดต่อที่ International Student Office พร้อมกับจดหมายตอบรับการเข้าทำงานจากทางบริษัท และอาจแนบจดหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษาไปด้วย จากนั้นจึงกรอกฟอร์ม I-538 ถ้าได้รับการอนุมัติ เจ้าหน้าที่ของ International Student Office จะเซ็นด้านหลัง I-20 ให้ พร้อมกับระบุระยะเวลา

o   นักศึกษาควรระมัดระวังในเรื่องของระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติ อย่าทำงานเกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับ เพราะอาจมีผลต่อการขอ OPT หลังจากศึกษาสำเร็จได้ หากต้องการทำเกินระยะเวลาที่อนุมัติในครั้งแรก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ International Student Office ทันที


2. Optional Practical Training (OPT) 
OPT เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการไปสู่ H-1B ของนักศึกษาไทยหลายๆ คน นักศึกษาที่ต้องการยื่นเรื่องขอ optional practical training จะต้องติดต่อกับ INS โดยผ่านทาง International Student Office เพื่อขออนุมัติจาก INS และเมื่อได้รับการอนุมัติ นักศึกษาจะมีเวลารวม 12 เดือนในการทำงานที่ใดก็ได้ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สำเร็จมา และไม่เกินระยะเวลา 14 เดือนหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว 

ข้อควรรู้สำหรับการทำ OPT 

·         จะต้องรักษาสถานภาพของการเป็นนักศึกษาวีซ่า F-1 มาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา หรือ 9 เดือน 

·         OPT สามารถใช้ได้ในช่วงเวลาต่อไปนี้ 

o   ยังศึกษาไม่สำเร็จ แต่อยากขอ OPT เพื่อไปทำงานแบบ full-time (มากกว่า 20 ชม/week) ส่วนใหญ่จะขอในช่วงปิดเทอม เรียกว่า Internship Note คล้ายๆกับ CPT 

o   ศึกษาสำเร็จแล้ว และต้องการขอทำงาน full-time ในบริษัททั่วไป ควรขอภายใน 60 วันหลังจากสำเร็จการศึกษา เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว สถานภาพของวีซ่า F-1 ของนักศึกษาจะหมดอายุ

 

·         ถ้านักศึกษาเคยขอ OPT แบบ full-time มาแล้ว ระยะเวลาของ OPT จะถูกหักออกไปจากยอดรวม 12 เดือน เช่น ถ้าในช่วง summer นักศึกษาได้ทำงานไปแล้วทั้งหมด 2 เดือน เมื่อศึกษาสำเร็จ ก็จะเหลือเวลาสำหรับ OPT อีกเพียง 10 เดือนเท่านั้น เป็นต้น 

·         ถ้านักศึกษาเคยขอ OPT แบบ part-time มาแล้ว ระยะเวลาของ OPT จะถูกหักออกไปจากยอดรวม 12 เดือนในอัตรา 1/2 ของเวลาทำงาน เช่น ถ้านักศึกษาทำงานไปทั้งหมด 2 เดือน (แบบ part-time) เมื่อศึกษาสำเร็จ นักศึกษาจะเหลือเวลาสำหรับ OPT เท่ากับ 12-(2/2) คือ 11 เดือนนั่นเอง 

·         นักศึกษาต้องกรอกฟอร์ม I-538 และฟอร์ม I-765 พร้อมรูปถ่ายหันข้าง 45 องศา จำนวน 2 ใบ แล้วนำไปที่ International Student Office พร้อมชำระค่าดำเนินการโดยการเขียนเช็คสั่งจ่าย INS จำนวน US $120

·         ขั้นตอนในการขอ OPT อาจแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย แต่โดยทั่วไปแล้ว นักศึกษาสามารถระบุวันเริ่มทำงานได้ แต่ไม่ควรเกิน 60 วันหลังเรียนจบ 

·         ในกรณีที่เพิ่งสำเร็จกในกรณีที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา และได้ทำเรื่องยื่นขอ OPT ไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ หรือยังไม่ได้ EAD นักศึกษายังไม่ควรเดินทางกลับประเทศไทยเนื่องจากสถานภาพของวีซ่า F-1 จะขาดทันที และจะไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย I-20 ใบเดิมได้อีก ดังนั้นควรรอให้เรื่องทางเอกสารสำเร็จเสียก่อน 

·         EAD (Employment Authorization Document) Card เป็นเอกสารอนุมัติ OPT ให้กับนักศึกษา ออกโดย INS และจะจัดส่งกลับมาให้ที่ International Student Office ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดต่อให้นักศึกษาไปรับอีกทีภายหลัง ในกรณีที่ยังไม่ได้รับเอกสารนี้ อย่าเริ่มทำงานโดยเด็ดขาด 

·         ถ้า OPT ได้รับการอนุมัติ และได้รับ EAD เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาสามารถเดินทางกลับเมืองไทยเพื่อพักผ่อน ก่อนการทำงานจริงได้ หรือต้องการเดินทางไปไหนก็ได้ แต่ต้องติดต่อ International Student Office เพื่อให้เซ็นต์ I-20 เหมือนกับ ตอนที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ 

·         ภายในระยะเวลาที่นักศึกษาได้รับการอนุมัติ OPT จาก INS นักศึกษาสามารถเปลี่ยนงานได้ โดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติใหม่ ซึ่งจะแตกต่างจาก CPT ที่นักศึกษาจะต้องได้รับการอนุมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนงาน 

·         ไม่จำเป็นต้องรอให้ได้งานก่อน แล้วจึงขอ OPT ก็ได้ หากกำลังจะสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษานี้ ก็สามารถเริ่มขอไว้ก่อนล่วงหน้าได้ เพราะขั้นตอนต่างๆของ OPT อาจต้องใช้เวลาทั้งหมดนานถึง 3 เดือน พร้อมกันนี้ก็ควรจะหางานไปด้วยในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย

·         การได้งานทำแบบ OPT นั้น จะมีข้อดีที่ว่าเมื่อทำไปได้จนถึงระยะเวลาที่ OPT ของนักศึกษาใกล้จะหมดลง ทางบริษัทที่ทำงานอยู่นั้น อาจจะเป็น sponsor ให้กับนักศึกษาในการขอวีซ่าแบบ H-1B ซึ่งเป็นวีซ่าสำหรับการทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ และเมื่อนักศึกษาได้วีซ่า H-1B ก็สามารถทำงานอยู่ต่อในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีก 6 ปี

การทำงานในขณะที่ถือวีซ่า J-1

นักศึกษาสามารถทำงาน ในขณะที่ถือวีซ่า J-1 ได้ ไม่ว่าจะเป็น part-time หรือ full-time ถ้าทางสถาบันการศึกษาอนุญาต แต่ทั้งนี้งานที่ทำจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียน และต้องไม่เกินระยะเวลาของวีซ่าที่ได้รับ โดยงานที่ทำนี้จะทำ ในระหว่าง เรียนก็ได้ หรือจะทำหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้ ถ้าต้องการทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว นักศึกษาจะต้องได้รับ การอนุมัติให้ทำงานได้ภายใน 30 วันหลังจากที่สำเร็จการศึกษา ไม่เช่นนั้นวีซ่า J-1 ก็จะหมดอายุลง 

สำหรับผู้ติดตามที่ถือวีซ่า J-2 สามารถที่จะทำงานอะไรก็ได้ แต่ต้องเขียนจดหมายถึง INS พร้อมกับแสดงให้เห็นว่า รายได้ จากการทำงานของ J-2 นั้น จะไม่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ถือวีซ่า J-1 และเมื่อ INS อนุมัติแล้ว ก็จะส่ง EAD มาให้ผู้ติด ตามที่ถือวีซ่า J-2 ซึ่งก็หมายความว่าสามารถเริ่มทำงานได้เลย ระยะเวลาที่สามารถทำงานได้ของ J-2 ก็จะได้นานเท่าที่ J-1 ยังศึกษาอยู่

น้องสนใจเรียนต่ออเมริกา..คอร์สภาษา ป.ตรี และ ป.โท

สอบถามเลย Riannok.com ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ

โทร 095 949 7400  l   02-642 0731-3

www.riannok.com

 
 
  พี่ภพ
[08 August 2014 , 17: 12 : 32]