เก่งอังกฤษต้องกล้าพูด
 
 

สวัสดีค่ะ ใครอยากเก่งภาษาอังกฤษ เขามาทางนี้ พี่ฟ้ามีเคล็บลับจะบอก แต่ก่อนอื่น น้องคนไหนทำความเข้าใจ ด้านล่างแล้ว รับรอง สามารถเก่งภาษาได้อย่างแน่นอนค่ะ คอนเซ็ปง่าย ตามหัวข้อ " กล้าพูด "

คนไทยจำนวนมากเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก แต่กลับไม่สามารถใช้สื่อสารได้จริง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเรียนภาษาแบบผิดธรรมชาติ

คณาธิป สุนทรรักษ์ หรือ ลูกกอล์ฟ ติวเตอร์ภาษาอังกฤษ เป็นแบบอย่างที่ดีของคนที่ฝึกฝนเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองจนสัมฤทธิผล และกลายมาเป็นผู้ถ่ายทอดเทคนิคการเรียนรู้ให้กับคนอื่น ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กไทยว่า ตอนนี้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กไทย ตื่นตัวเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่วิธีการเรียนการสอนอาจ “ผิดวิธี”

สาเหตุที่เด็กไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ เพราะปกติธรรมชาติของการเรียนภาษาที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นภาษาไหน ต้องเริ่มจากการฟัง พูด อ่าน เขียน แต่เด็กไทยกลับเริ่มจากเขียน อ่าน พูด และฟัง ซึ่งสวนทางกัน ดังนั้นแม้ว่าจะเรียนมากแค่ไหน แต่เมื่อไม่ลองหัดพูด ก็จะไม่กล้าพูด สื่อสารไม่ได้

“สมัยไปเรียนต่อที่ลอนดอน แรกๆ ไม่กล้าพูด พูดไม่ได้ แต่ก็ต้องพูด อย่างน้อยต้องสั่งอาหารหรือถามเส้นทางได้ เพราะถ้าไม่พูดก็อดตาย ส่วนเรื่องวิธีเรียนภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ แนะนำให้เริ่มจากดูการ์ตูนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก แบบไม่มีซับไตเติล ให้คอยฟังสำเนียงไปเรื่อยๆ เพราะการฟังบ่อยๆ จะทำให้เราจดจำและจับได้ว่าประโยคนี้ใช้อย่างไร แล้วจะเข้าใจหลักไวยากรณ์เอง”

ครูลูกกอล์ฟ บอกว่า การเรียนภาษาอังกฤษในแบบฉบับของตน คือ เรียนเพื่อการสื่อสาร ส่วนสำเนียงจะดี ชัดเป๊ะแบบต้นฉบับหรือไม่นั้นไม่ได้เน้นจริงจัง เพราะมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่แม้สำเนียงจะไม่เหมือนเจ้าของภาษา แต่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้เข้าใจ เนื่องจากพูดเน้นเสียงหนักเบาถูกต้อง คนฟังเข้าใจ

“เวลาคนไทยได้ยินคนพูดสำเนียงแบบเจ้าของภาษาแท้ๆ บางครั้งกลับมองว่าคนนั้นดัดจริต ทัศนคติแบบนี้ทำให้คนไทยบางส่วนไม่กล้าออกเสียงแบบต้นฉบับ”

เมื่อให้เปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยและคนชาติเพื่อนบ้านในอาเซียน ครูลูกกอล์ฟ มองว่า แม้ว่าเด็กไทยจะเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก แต่กลับใช้งานจริงไม่ค่อยได้ ทักษะภาษาของเด็กไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ที่แม้แต่เด็กขายของตามสถานที่ท่องเที่ยวยังสามารถสื่อสารโต้ตอบชาวต่างชาติ ได้ เพราะเด็กเหล่านั้นต้องเอาตัวรอด หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น เพราะประเทศเพื่อนบ้านต่างเคยผ่านช่วงที่ตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติ ทำให้คนในชาติต้องพยายามดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ขณะที่เด็กไทยไม่เคยอยู่ในภาวะกดดัน ทำให้เด็กไทยมีนิสัยไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ยังติดนิสัยรับสิ่งที่ถูกป้อนเข้ามาเท่านั้น เหมือนเด็กที่แม่ต้องป้อนข้าว ก่อนป้อนต้องเป่าให้ บางครั้งถึงขนาดเคี้ยวให้ก็มี

“หากพูดถึงทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยเมื่อเทียบกับคนชาติอื่นในอาเซียน ถือว่าดีระดับหนึ่ง แต่เมื่อถึงเวลาเปิดเออีซีจะมีคนไทยที่เอาตัวรอดได้เพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น คือ คนที่อยู่ในเมืองใหญ่และอยู่ในระบบการศึกษาเท่านั้น”

สุดท้ายครูลูกกอล์ฟให้มุมมองว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฏิรูประบบการศึกษาของไทย ทั้งครูและนักเรียน โดยครูจะต้องปล่อยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น กล้าคิด กล้าพูด ......

โดย...ชลธิชา ภัทรสิริวรกุล

 

หลังจากอ่านแล้ว เรามากล้าพูด กล้าคุย และ มาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม Au Pair กันนะค่ะ

 
 
  p'fah
[22 February 2014 , 18: 37 : 35]