Snack attack (TRICKS OF THE TRADE)
 
 

       สวัสดีค่ะ สาวๆออแพร์ วันนี้พี่ฟ้ามีข้อมูลมาให้ในเรื่องของ " SNACK " นะค่ะ เด็กๆมักจะหิวอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เวลาเราออกไปข้างนอก หรือ เล่นอยู่ที่บ้าน เราจะต้องเตรียมพร้อมเรื่องของขนมเอาไว้นะค่ะ

 

         Toddlers need snacks to get them through the day. But since they have tiny tummies, it’s never a good idea to fill them up with snacks that aren’t nutritious. Here are some healthy snack ideas:  

       * Bananas, especially yummy frozen (but peel before freezing)

       * Small boxes or zip-lock bags of whole-grain cereals (such as Cheerios)

       * Homemade mini muffins

       * Mini bagels

       * Cheese cubes or sticks                                                                                                                                    

       * Whole-wheat, low-salt pretzels or crackers

       * Rice cakes

       * Whole-grain cookies or granola bars

       * Sliced apple, spread very thinly with smooth peanut butter (if allowed)

 

 

 
 
  P'fah
[14 February 2014 , 14: 58 : 14]
 
     #1
 
 วัย เด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใหม่ๆ ร่างกายจึงต้องมีความต้องการพลังงาน และโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้สำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ อยู่เสมอ ดังนั้น การรับประทานอาหารเพียง 3 มื้อหลักอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากเด็กวัยเรียนมีความต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ขนม และของว่างที่มีโภชนาการที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมพลังงานให้เพียงพอสำหรับเด็ก
       
       แต่ข้อมูลจากการสำรวจการรับประทาน อาหารว่างของเด็กในปัจจุบัน พบว่า เด็กเล็กอายุระหว่าง 3-5 ปี ได้รับพลังงานจากอาหารว่างและขนมมากกว่าที่ควรได้รับ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากมื้อหลักลดลง นอกจากนี้แล้ว ขนมและของว่างที่เด็กไทยนิยมรับประทาน มีส่วนประกอบของแป้ง ไขมัน และน้ำตาล ปริมาณมาก เช่น ขนมถุง ขนมซอง น้ำอัดลม ส่งผลให้เด็กมีปัญหาโภชนาการเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
       
       ความน่าเป็นห่วงในข้างต้น เภสัชกร ทวีทรัพย์ เหลืองนทีเทพ นัก โภชนาการจากเนสท์เล่ กล่าวในงานเสวนา “เลือกขนมข​องว่างให้ลู​กรักอย่างไร ให้ถูกใจและ​ได้ประโยชน์” เมื่อเร็วๆ นี้​ว่า เป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อย หรือตามใจลูกในการรับประทานขนม และของว่างมากเกินไป โดยเฉพาะขนมหรือของว่างที่มีรสหวาน อาจทำให้เด็กติดหวาน และทำให้เกิดโรคอ้วน รวมไปถึงเบาหวานชนิดที่ 2 ตามมาได้ ทางที่ดี ควรสร้างวินัยการรับประทานขนม และของว่างภายในบ้าน ไม่กินจุบจิบตลอดเวลา
       
       “พ่อแม่ควรใส่ใจในการเลือกขนมและของ ว่างที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ใช้สีที่มาจากธรรมชาติ ไม่หวาน และเค็มเกินไป ควรมีการควบคุม และวินัยการกินที่ชัดเจน ไม่ควรให้ขนม ของหวานแทนอาหารมื้อหลัก เพราะสิ่งที่นำมาทดแทนนั้นกินง่ายกว่า จึงทำให้ลูกไม่กินข้าว และที่สำคัญ การให้ขนม และของว่างต้องไม่มากจนทำให้เด็กน้ำหนักเกินหรืออิ่มจนไม่อยากกินอาหารมื้อ หลักด้วย” นักโภชนาการฝาก
       
       นอกจากนั้น ยังมีข้อแนะนำดีๆ จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติในการเลือกขนม และอาหารว่างแก่เด็ก 2 ขวบขึ้นไปมาฝากเป็นแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่กันด้วย เริ่มจาก
       
       - เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อ นมวันละ 2-3 แก้ว (ควรเลือกนมจืดสำหรับเด็กทั่วไป และนมจืดพร่องมันเนย สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ไม่แนะนำให้บริโภคนมหวาน หรือนมปรุงแต่ง) และอาหารว่าง
       
       - อาหารว่างเป็นอาหารที่บริโภคระหว่างมื้อหลัก ควรบริโภคอาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ แต่ละมื้อให้พลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน นั่นคือ สำหรับเด็กเล็ก (อายุ 2-5 ขวบ) ไม่เกินมื้อละ 100-130 กิโลแคลอรี เด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ขวบ) ไม่เกินมื้อละ 150 กิโลแคลอรี เด็กวัยรุ่น (อายุ 13-15 ปี) ไม่เกินมื้อละ 200 กิโลแคลอรี หรือโดยเฉลี่ยมื้อละ 100-150 กิโลแคลอรี สำหรับเด็กอายุ 2-15 ปี
       
       - อาหารว่างที่ดีควรจำกัดปริมาณน้ำมัน น้ำตาล และเกลือไม่ให้สูงเกินไป
       
       - ควรรับประทานอาหารว่างห่างจากมื้อหลักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
       
       - ไม่ควรใช้อาหารหรือขนมเป็นเงื่อนไขของการให้รางวัลหรือการลงโทษ
       
       - อาหารว่างที่ควรมีประจำบ้าน ได้แก่ นมจืด ผลไม้สด ผลไม้อบแห้งที่ไม่เติมน้ำตาล ขนมปังกรอบชนิดโฮลวีท
       
       - ไม่ตุนของว่างที่มีไขมันและน้ำตาลสูงไว้ในบ้าน ได้แก่ น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมกรุบกรอบ ช็อคโกแลต ลูกอม คุกกี้

แนะวิธีเลือกขนม-ของว่างให้ลูกอย่างฉลาด
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

       - อาหารว่างควรมีหลายประเภท ในแต่ละประเภทควรมีความหลากหลาย และมีคุณค่าสารอาหารที่แตกต่างกัน ดังนี้
       
       ผลไม้สด
       
       เป็นอาหารว่างที่มีประโยชน์ มีแร่ธาตุ ใยอาหาร และวิตามินสูง ผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับเป็นอาหารว่าง ได้แก่ กล้วย ส้ม มะละกอ ฝรั่ง ชมพู่ เป็นต้น (ตัวอย่างของผลไม้ 1 ส่วนบริโภค : กล้วยน้ำว้า 1 ผล ส้ม 1 ผล ผลไม้ตัดเป็นชิ้น 1 จานเล็ก หรือ 6-8 คำ) หลีกเลี่ยงการบริโภคผลไม้ที่มีรสหวานจัดบ่อย เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน เป็นต้น หรือให้เป็นผลไม้อบแห้งที่ไม่เติมน้ำตาลไม่เกิน 6-8 คำ เช่น กล้วยตาก (ชนิดไม่ชุบน้ำผึ้ง) เป็นต้น
       
       เครื่องดื่ม
       
       สิ่งที่เด็กต้องการคือ น้ำอย่างน้อยวัยละ 6-8 แก้ว โดยเด็กได้รับน้ำเปล่าจากอาหาร เช่น น้ำแกงจืด นม และเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่เหมาะสำหรับเด็ก ไม่ควรมีน้ำตาลเกินร้อยละ 5 ยกตัวอย่างเช่น นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม มี นมเป็นส่วนประกอบเพียงครึ่งเดียว และมีน้ำตาลสูงเทียบเท่าน้ำอัดลม ควรให้นาน ๆ ครั้ง หรือไม่ควรบริโภคเลยในเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
       
       น้ำผลไม้ น้ำ ผลไม้สดบางชนิดไม่เติมน้ำตาล เช่น น้ำส้ม น้ำฝรั่ง เป็นแหล่งอาหารที่ดีของวิตามินซี หากล้างผลไม้ให้สะอาด และคั้นให้เด็กดื่มทันที แต่น้ำผลไม้สำเร็จรูป หรือน้ำผลไม้ที่ขายตามร้านทั่วไปมักเติมน้ำตาล และบางชนิดมีน้ำตาลสูง จึงควรเลือกชนิดที่มีน้ำผลไม้แท้เป็นส่วนผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และเติมน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 5 โดยดื่มวันละไม่เกิน 1 แก้วหรือไม่เกิน 1 กล่องเล็กต่อวัน แต่ควรให้เป็นผลไม้สดจะดีกว่า
       
       ส่วน น้ำอัดลม ไม่แนะนำให้บริโภค เนื่องจากมีน้ำตาลสูง และมีกรดฟอสฟอริก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเนื้อฟันกร่อน หรือกระดูกกร่อนได้
       
       - ของว่างจำพวกเบเกอรี่ ควรเลือกขนมปังกรอบชนิดที่มีใยอาหารสูงคือ ชนิดที่ทำมาจากโฮลวีท หลีกเลี่ยงขนมที่มีไขมันสูงและรสหวานจัด เช่น คุกกี้ พัฟ พาย เค้กหน้าครีม
       
       - ขนมซองหรือขนมถุง หลีกเลี่ยงขนมกรุบกรอบที่มีแป้งหรือไขมันสูง เช่น มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบ ถ้าจะบริโภคให้เลือกชนิดที่มีโปรตีนสูงแทน เช่น ปลาเส้น เมล็ดพืชอบ เช่น ถั่วอบกรอบ เมล็ดทานตะวันอบ เป็นต้น
       
       - ถั่ว พืชหัว และธัญพืช ให้ถั่วต้ม หรือถั่วอบแทนถั่วทอด มันเผือกต้มแทนมันเชื่อม ฉาบข้าวโพดต้มแทนข้าวโพดคั่วอบเนย เป็นต้น
       
       - ลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลต นมอัดเม็ด เป็นขนมที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เนื่องจากมีน้ำตาลสูงเสี่ยงต่อฟันผุ และภาวะโภชนาการเกิน
       
       - ไอศกรีม ควรให้นานๆ ครั้ง ให้เลือกไอศกรีมที่มีไขมันต่ำ เช่น ไอศกรีมหวานเย็น (ที่ไม่แต่งสีจัด) ไอศกรีมเชอร์เบท โยเกิร์ตแข็ง เป็นต้น
       
       - ขนมหวานของไทย ขนมไทยหลายอย่างมีประโยชน์ เนื่องจากมักนำธัญพืช ถั่ว ผัก ผลไม้มาเป็นส่วนประกอบ การบริโภคให้เลือกชนิดที่มีน้ำมันน้อย หรือกะทิ/มะพร้าวน้อย และไม่หวานจัด เช่น ถั่วแปบ ข้าวต้มมัด ขนมตาล ขนมกล้วย เม็ดขนุน ถั่วเขียวต้ม เต้าส่วน เป็นต้น หลีกเลี่ยงขนมหวานไทยบางชนิดที่มีกะทิ หรือน้ำตาลเข้มข้น เช่น ตะโก้ ขนมหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด มันเชื่อม กล้วยเชื่อม เป็นต้น
       
       - ของว่างประเภททอด ปิ้ง ย่าง ให้หลีกเลี่ยงชนิดที่ไหม้เกรียม ไม่แนะนำอาหารว่างประเภททอด
       
       - ของว่างอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และมีอาหารหลายหมวดอยู่ปนกัน เช่น ขนมจีบ ซาลาเปา แซนด์วิชไส้ทูน่า ขนมปังไส้หมูหยอง เป็นต้น
       
       นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ครอบครัวยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม

 

Cradit: โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

 
 
  p'fah
[14 February 2014 , 15: 01 : 54]