TIPS : อ่านหนังสืออย่างไรให้จำได้
 
 

" อ่านไปจดโน๊ตไป "

. นั่งสมาธิก่อนอ่าน "

" อ่านใกล้ๆวันสอบ "

" อ่านซ้ำหลายๆรอบ "

" อ่านกับเพื่อน / แฟน "

" อ่านให้อินกับหนังสือ "

" อ่านให้จบ แล้วทำสรุป "

" อ่านแล้วจำเป็นภาพในหัว "

" อ่านและค่อยๆ ทำความเข้าใจ "

" สร้างทัศนคติที่ดีก่อนอ่านหนังสือ "

" อ่านให้จบ แล้วอธิบายให้ตัวเองฟัง "

"  ให้เพื่อนติวให้ ประหยัดเวลาได้เยอะ "

" ยืนอ่าน ไม่ก็เดินไปเดินมาแล้วอ่านไปด้วย "

"  ไม่อ่านหนังสือบนเตียง เดี๋ยวหลับก่อนจำได้ "

 

สวัสดีจ้า สาวๆออแพร์ทั้งหลาย หลายๆคนคงงงประโยคข้างต้นที่พี่ฟ้ากล่าวถึง เพราะฉะนั้น วันนี้พี่ฟ้า แนะนำเกี่ยวกับวิธีในการเตรียทตัวสอบ หรือ อ่านหนังสือกันจ้า

น้องๆออแพร์หลายๆคน เพื่อให้เราจบโครงการออแพร์ เราก็จะต้องมีการลงเรียน ตามข้อกำหนดที่มีไว้ สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ และในบางคนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาโท หลังจากบโครงการ ดังนั้นทุกคนคงต้องผ่านการสอบกันมาแล้วเชื่อว่าแต่ละคนคงรู้ตัวดีแล้วว่ามีข้อไหนควรที่จะต้องปรับบ้างนะค่ะ ตรงไหนทำได้ดีตรงไหนยังต้องปรับปรุงสำหรับการสอบครั้งต่อไป ลองมาดูกันว่าเรามีวิธีอ่านหนังสือให้จำได้เหมือนที่เพื่อนๆ ทำกันบ้างหรือเปล่า ?

แต่ละคนคงมีวิธีการอ่านหนังสือที่แตกต่างกันออกไปอาจตรงหรือไม่ตรงกับเพื่อนๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก็สุดแล้วแต่วิธีที่ตนเองคิดว่าเหมาะที่สุดและได้ผลที่สุดสำหรับตนเอง คราวนี้พี่มีคำแนะนำดีๆ เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้สมองจำดีขึ้นสามารถนำมาใช้ก่อน การอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการความตื่นตัวก็ได้

เทคนิคที่ว่านั่นคือ " เทคนิคกำหมัด ช่วยให้สมองจำดีขึ้น "

 จากผลวิจัยล่าสุดของนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยมอนต์แคลร์สเตท รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา เปิดเผยเมื่อเร็วๆนี้ ระบุว่า การกำมือแน่นๆ ช่วยให้ความจำดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ความสามารถในการระลึกความทรงจำเก่าๆกลับคืนมาได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครผู้ใหญ่จำนวน 50 คน ให้จดจำคำศัพท์จากลิสต์คำศัพท์จำนวนมากขณะที่ทดลองกำมือไปด้วยพบว่า การกำมือขวาเป็นเวลา 90 วินาทีจะช่วย ให้การจดจำสิ่งใหม่ๆ ทำได้ดีขึ้นในขณะที่การกำมือซ้ายเป็นเวลาเท่าๆกันจะช่วยให้การเรียกคือความทรงจำเก่าๆ ทำได้ดีขึ้น การกำมือขวาก่อนเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ และการกำมือซ้ายก่อนจะเรียกคือความทรงจำนั้นสามารถปรับปรุงระบบความทรงจำได้ โดยประกฏการณ์ดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนการทำงานของสอมงชั่วคราว

ทั้งนี้งานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการกำมือซ้ายและมือขวาสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองซีกตรงกันข้ามได้ รวมถึงยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ด้วย เช่น การกำมือขวามเชื่อมโยงกับความสุขและความโกรธ ในขณะที่การกำมือซ้ายเชื่อมโยงกับความเศร้าและความวิตกกังวล.

 

หวังว่าคงจุดประกายเทคนิคอ่านหนังสือของหลายๆคนได้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ

 

พี่ฟ้า

Cradit : CU Today

 
 
  fah
[03 December 2013 , 18: 46 : 48]